พระลีลาเม็ดขนุน หรือกำแพงเม็ดขนุน หรือกำแพงเขย่งก็เรียก ในอดีตเป็นพระที่ได้รับความนิยมสูงกว่าพระกำแพงซุ้มกอ และถูกจัดอยู่ในชุดพระเบญจภาคีชุดใหญ่ แต่ภายหลัง พระกำแพงเม็ดขนุนเป็นพระที่ค่อนข้างหายาก และเป็นพระที่มีลักษณะทรงยาว ซึ่งไม่เข้าชุดกับพระเบญจภาคีที่เหลือ ภายหลังจึงได้มีการเปลี่ยนเอาพระกำแพงซุ้มกอเข้าไปแทนที่
พระกำแพงเม็ดขนุน เป็นพระปางลีลาศิลปสุโขทัย แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก
ส่วนเนื้อพระกำแพงเม็ดขนุน แบ่งออกได้ดังนี้
1. เนื้อดิน
2. เนื้อว่านล้วน ๆ
3. เนื้อว่านหน้าทอง และเนื้อว่านหน้าเงิน (คลิกกลับไปดูกำแพงเม็ดขนุน)
4. เนื้อชิน
ส่วนเนื้อที่ได้รับความนิยมที่สุด คือเนื้อดิน มีด้วยกันหลายสี เช่น เนื้อสีแดง, เนื้อสีเหลือง, เนื้อสีเขียว, เนื้อสีดำ และเนื้อสีผ่าน (คือมีมากกว่า 1 สี ในองค์เดียวกัน)
รองลงมาก็จะเป็นเนื้อว่านหน้าทอง และว่านหน้าเงิน แต่ก็เป็นเนื้อที่หายากมากเช่นกัน
พุทธคุณ พระสกุลกำแพง ล้วนแล้วจะเด่นทางด้านโภคทรัพย์ เมตตามหานิยม และ แคล้วคลาด
หลักการพิจารณาตำหนิพิมพ์ กำแพงเม็ดขนุน
กำแพงเม็ดขนุน (ด้านหน้า)
1. ให้ดูขอบข้างก่อนเริ่มจากด้านบน จะเป็นรอยเฉียงเป็นเส้นตรง นั่นคือรอยขอบแม่พิมพ์เดิม
2. ขอบด้านนอกจากเกศพระถึงปลายเท้าด้านซ้ายมือพระ ให้สังเกตจะลาดชันกว่าด้านขวามือพระ
3. ขอบข้างด้านขวามือบริเวณแนวกระจังตามลูกศรชี้ จะมีร่องเป็นรูปตัวเอ็น เอียง ๆ แต่จุดนี้ค่อนข้างติดยาก เนื่องจากส่วนใหญ่จะสึกหมด หรือตอนกดพิมพ์ เนื้อจะอุดร่องตัวเอ็น ทำให้มองไม่เห็น
4. ขอบข้างด้านซ้าย บริเวณแนวปลายจมูก และบริเวณแนวมุมแหลมรักแร้ซ้ายพระด้านบน จะมีเนื้อเกินทั้งสองจุด แต่ส่วนใหญ่จะสึกหมดเห็นแค่ราง ๆ เท่านั้น
5. ร่องเส้นซุ้มด้านขวามือพระช่วงระหว่างเกศพระถึงหัวไหล่พระจะเป็นร่องโค้งมากกว่าด้านซ้าย และจะเอียงโค้งลงไปทางซ้ายมือพระ ส่วนภายในร่องจะค่อนข้างกว้างกว่าทุกตำแหน่งของร่องซุ้ม
6. ให้ดูที่หูพระด้านซ้าย หูจะเป็นเส้นตรงวิ่งขนานกับแก้ม ส่วนทางด้านขวามือพระช่วงกึ่งกลาง เส้นหูจะติดบางเกือบขาดจากกัน
7. กรณีพระมีหน้าตาให้สังเกตตาของพระจะเฉียงขึ้น ส่วนปลายคางของพระจะมีลูกคางค่อนข้างชัดเจน ส่วนรูปหน้าถึงเกศพระให้ดูหน้าพระจะก้มลงไปทางซ้ายมือพระเล็กน้อย
8. ให้สังเกตหัวไหล่ขวาพระจะชิดติดร่องเส้นซุ้มพอดี ส่วนหัวไหล่ด้านซ้ายจะห่างร่องเส้นซุ้ม
9. ให้สังเกตมือข้างขวาพระกรณีพระติดลึก คมชัด จะเห็นเส้นบล็อกแตกข้างนิ้วชี้ ส่วนมือข้างซ้ายจะวางไว้กลางอกและมือค่อนข้างใหญ่ และส่วนใหญ่จะสึกจะเห็นแค่ราง ๆ
10. ให้ดูส้นเท้าขวาจะแตะขอบ ส่วนหลังเท้าจะงอนโค้ง และช่วงบนหลังเท้า จะมีเนื้อเกินเป็นก้อนสามเหลี่ยมนูนขึ้นมาอย่างชัดเจน กรณีเนื้อเกินก้อนนี้ติดไม่ชัดเจน จะขึ้นเป็นเนินเตี้ย ๆ เท่านั้น
11. ให้ดูเท้าซ้ายค่อนข้างยาวกว่าปกติ และช่วงหลังเท้าตรงกลางจะมีรอยเว้าเป็นแอ่ง เป็นร่องชัดเจน
ด้านหลังกำแพงเม็ดขนุน แบ่งออกเป็น 2 แบบ โดยไม่มีการตัดปีก
1. หลังกดคลึงย้ำเป็นลอนคลื่นตามขวาง แล้วยกออกจากแม่พิมพ์ด้านล่าง
2. หลังกดย้ำ และมีรอยหยิบด้านข้าง 2 แถว และมีรอยยกออกจากด้านล่าง
Cr. ผู้เขียน : ช้าง-วัดห้วย
พระกำแพงเม็ดขนุน เป็นพระปางลีลาศิลปสุโขทัย แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก
ส่วนเนื้อพระกำแพงเม็ดขนุน แบ่งออกได้ดังนี้
1. เนื้อดิน
2. เนื้อว่านล้วน ๆ
3. เนื้อว่านหน้าทอง และเนื้อว่านหน้าเงิน (คลิกกลับไปดูกำแพงเม็ดขนุน)
4. เนื้อชิน
ส่วนเนื้อที่ได้รับความนิยมที่สุด คือเนื้อดิน มีด้วยกันหลายสี เช่น เนื้อสีแดง, เนื้อสีเหลือง, เนื้อสีเขียว, เนื้อสีดำ และเนื้อสีผ่าน (คือมีมากกว่า 1 สี ในองค์เดียวกัน)
รองลงมาก็จะเป็นเนื้อว่านหน้าทอง และว่านหน้าเงิน แต่ก็เป็นเนื้อที่หายากมากเช่นกัน
พุทธคุณ พระสกุลกำแพง ล้วนแล้วจะเด่นทางด้านโภคทรัพย์ เมตตามหานิยม และ แคล้วคลาด
หลักการพิจารณาตำหนิพิมพ์ กำแพงเม็ดขนุน
กำแพงเม็ดขนุน (ด้านหน้า)
1. ให้ดูขอบข้างก่อนเริ่มจากด้านบน จะเป็นรอยเฉียงเป็นเส้นตรง นั่นคือรอยขอบแม่พิมพ์เดิม
2. ขอบด้านนอกจากเกศพระถึงปลายเท้าด้านซ้ายมือพระ ให้สังเกตจะลาดชันกว่าด้านขวามือพระ
3. ขอบข้างด้านขวามือบริเวณแนวกระจังตามลูกศรชี้ จะมีร่องเป็นรูปตัวเอ็น เอียง ๆ แต่จุดนี้ค่อนข้างติดยาก เนื่องจากส่วนใหญ่จะสึกหมด หรือตอนกดพิมพ์ เนื้อจะอุดร่องตัวเอ็น ทำให้มองไม่เห็น
4. ขอบข้างด้านซ้าย บริเวณแนวปลายจมูก และบริเวณแนวมุมแหลมรักแร้ซ้ายพระด้านบน จะมีเนื้อเกินทั้งสองจุด แต่ส่วนใหญ่จะสึกหมดเห็นแค่ราง ๆ เท่านั้น
5. ร่องเส้นซุ้มด้านขวามือพระช่วงระหว่างเกศพระถึงหัวไหล่พระจะเป็นร่องโค้งมากกว่าด้านซ้าย และจะเอียงโค้งลงไปทางซ้ายมือพระ ส่วนภายในร่องจะค่อนข้างกว้างกว่าทุกตำแหน่งของร่องซุ้ม
6. ให้ดูที่หูพระด้านซ้าย หูจะเป็นเส้นตรงวิ่งขนานกับแก้ม ส่วนทางด้านขวามือพระช่วงกึ่งกลาง เส้นหูจะติดบางเกือบขาดจากกัน
7. กรณีพระมีหน้าตาให้สังเกตตาของพระจะเฉียงขึ้น ส่วนปลายคางของพระจะมีลูกคางค่อนข้างชัดเจน ส่วนรูปหน้าถึงเกศพระให้ดูหน้าพระจะก้มลงไปทางซ้ายมือพระเล็กน้อย
8. ให้สังเกตหัวไหล่ขวาพระจะชิดติดร่องเส้นซุ้มพอดี ส่วนหัวไหล่ด้านซ้ายจะห่างร่องเส้นซุ้ม
9. ให้สังเกตมือข้างขวาพระกรณีพระติดลึก คมชัด จะเห็นเส้นบล็อกแตกข้างนิ้วชี้ ส่วนมือข้างซ้ายจะวางไว้กลางอกและมือค่อนข้างใหญ่ และส่วนใหญ่จะสึกจะเห็นแค่ราง ๆ
10. ให้ดูส้นเท้าขวาจะแตะขอบ ส่วนหลังเท้าจะงอนโค้ง และช่วงบนหลังเท้า จะมีเนื้อเกินเป็นก้อนสามเหลี่ยมนูนขึ้นมาอย่างชัดเจน กรณีเนื้อเกินก้อนนี้ติดไม่ชัดเจน จะขึ้นเป็นเนินเตี้ย ๆ เท่านั้น
11. ให้ดูเท้าซ้ายค่อนข้างยาวกว่าปกติ และช่วงหลังเท้าตรงกลางจะมีรอยเว้าเป็นแอ่ง เป็นร่องชัดเจน
ด้านหลังกำแพงเม็ดขนุน แบ่งออกเป็น 2 แบบ โดยไม่มีการตัดปีก
1. หลังกดคลึงย้ำเป็นลอนคลื่นตามขวาง แล้วยกออกจากแม่พิมพ์ด้านล่าง
ด้านหลังกำแพงเม็ดขนุน (แบบที่ 1)
2. หลังกดย้ำ และมีรอยหยิบด้านข้าง 2 แถว และมีรอยยกออกจากด้านล่าง
ด้านหลังกำแพงเม็ดขนุน (แบบที่ 2)
Cr. ผู้เขียน : ช้าง-วัดห้วย